ห้องปฏิบัติการสำหรับการให้บริการแก่ภาคอุตสาหกรรม (Lab Service Centre)
สำหรับอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น จะเน้นพัฒนาห้องปฏิบัติการสำหรับการให้บริการที่เกี่ยวกับห่วงโซ่คุณค่าของไก่เนื้อสายพันธุ์ไทยและมีบางส่วนที่ปรับปรุงห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่สำคัญ
1. ห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพทางเคมี กายภาพ และทางประสาทสัมผัส ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหารและโภชนศาสตร์ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพทางเคมี กายภาพ และทางประสาทสัมผัส ตั้งอยู่ ณ TA 103 และ TA 104 ชั้น 1 อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการอุตสาหกรรมการเกษตร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พื้นที่กันทรวิชัย ห้องปฏิบัติการ สามารถใช้ทดสอบคุณภาพ ทางกายภาพและทางประสาทสัมผัส มี ผศ.ดร.มนัชญา สังข์ศรีอินทร์ เป็นอาจารย์ประจำห้องปฏิบัติการ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 081-871-2070 | แบบฟอร์มขอใช้ห้องปฏิบัติการ | | ระเบียบการขอใช้ห้องปฏิบัติการ |
2. ห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุภาชนะปิดสนิทและออกแบบกระบวนการ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุภาชนะปิดสนิทและออกแบบกระบวนการ(Quality Assessment and Process Design of Food Packed in Hermetically Seal Container Laboratory) หรือ (QA-PD Lab) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดให้มีขึ้นเพื่อให้บริการ ผู้ประกอบการอาหาร ที่ผลิตอาหารบรรจุภาชนะปิดสนิท ตาม ประกาศกระทรวงสาธารณะสุข ฉบับที่ 349 พ.ศ. 2556 เรื่อง “วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษา อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่เป็นกรดต่ำ และชนิดที่ปรับกรด” โดยมีข้อกำหนด ด้านกระบวนผลิตที่ต้องผ่านการออกแบบกระบวนการและตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์จากหน่วยงานและบุคลาการที่ผ่านการสอบคุณสมบัติ (Thermal process authority) อนึ่ง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดย อ.ดร.อัศวิน อมรสิน เบอร์โทรศัพท์ 083-353-0001 สังกัด คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นผู้มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว จึงสามารถให้บริการวิชาการรับรองและประเมินด้านการออกแบบกระบวนการผลิต และตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารที่เข้าข่ายประกาศดังกล่าวข้างต้น นอกจากนั้น ทางห้องปฏิบัติการยังสามารถให้บริการด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ประกอบการ ต่างๆ เช่น การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม แก่ หน่วยงานของรัฐ และเอกชน รวมทั้งให้การบริการวิชาการ ที่ปรึกษา การฝึกอบรม ศึกษาดูงาน และออกแบบผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม โดยให้บริการทั้งในลักษณะที่มีค่าใช้จ่าย และไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ บนหลักการที่ไม่แสวงหากำไร แต่ให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่ออุตสาหกรรมอาหารทั่วประเทศและกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม
ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ให้มีการบริการทางวิชาการแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน ซึ่งเป็นภารกิจส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย โดยมีภาครัฐ และเอกชนติดต่อขอความร่วมมือในการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างทางจุลชีววิทยา ได้แก่ การตรวจวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์ในตัวอย่างอาหาร ตัวอย่างน้ำ ตัวอย่างเครื่องดื่ม ตัวอย่างดิน และตัวอย่างส่งตรวจอื่นๆ ซึ่งภาควิชาฯมีความจำเป็นต้องเพิ่มความสามารถในการดำเนินการวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาในห้องปฏิบัติการ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และให้ผลการตรวจสอบที่ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น เพื่อรองรับความต้องการในการรับบริการการตรวจวิเคราะห์ในการห้องปฏิบัติการทั้งจากหน่วยงานรัฐบาลและเอกชน ในการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบการดำเนินงานโครงการพัฒนาต่าง ๆ ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้นโยบายต่างๆประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องมีการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง เพื่อให้สามารถแข่งขันได้และเป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ทั้งนี้ทางภาควิชาฯ ได้มีการจัดรูปแบบการบริการการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาให้เป็นระบบขึ้น ในการรับตัวอย่างและรายงานผล และมีการกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละหน้าที่ โดยมีคณาจารย์ในภาควิชาฯ ซึ่งเชี่ยวชาญในแต่ละวิธีของการตรวจวิเคราะห์ เป็นผู้ให้บริการตรวจวิเคราะห์ ซึ่งใช้งบประมาณจากงบประมาณปกติของภาควิชาฯ ทั้งนี้ภาควิชาฯ มีความพยายามที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและได้มีการควบคุมคุณภาพภายในห้องปฏิบัติการฯ ตามศักยภาพของภาควิชาฯ ซึ่งเป็นผลให้การพัฒนาเป็นไปได้อย่างช้าๆ โดยมุ่งพัฒนาห้องปฏิบัติการสู่การรับรองตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO 17025 นอกจากนั้นภาควิชาฯ ยังได้ส่งคณาจารย์ และเจ้าหน้าที่เข้าฝึกอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานดังกล่าว ในการดำเนินการให้บริการ และการขอการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ภาควิชาฯได้กำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินการห้องปฏิบัติการ ตามข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 17025 โดยมี อาจารย์ บุษบา ธระเสนา เบอร์โทรศัพท์ 089-715-7009 เป็นอาจารย์ประจำห้องปฏิบัติการ